จบอย่างไร? กับ ดราม่าครั้งใหญ่ "เปิ้ล" นาคร" VS "กองทุนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ"

จบอย่างไร? กับ ดราม่าครั้งใหญ่ "เปิ้ล" นาคร"  VS "กองทุนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ"

หลังจากกลายเป็นประเด็นดราม่าครั้งใหญ่เมื่อ “เปิ้ล” นาคร ศิลาชัย ได้ออกมาเปิดเผยถึงเรื่องราวที่ กองทุนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ (NSDF) ไม่สามารถอนุมัติเงินรางวัลให้กับ “น้องออก้า” นครา ศิลาชัย หลังจากคว้าแชมป์เจ็ทสกีโลก ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา ในรายการ “ดับเบิลยูจีพี วัน เจ็ตสกี เวิลด์ ซีรี่ส์ 2022” รุ่นจูเนียร์ สกี้ 10-12 ปี เมื่อช่วงเดือน ตุลาคม 2565

โดยข้อความที่ นาคร ศิลาชัย ได้โพสต์ผ่านเฟสบุ๊คส่วนตัวด้วยข้อคว่ว่า “ยกเลิก” เงินสนับสนุนและเงินอัดฉีดปี 2022 ที่นักกีฬาเจ็ทสกีไทยได้ไปสร้างชื่อเสียงจนเป็นอันดับ 1 ของโลกครั้งแรกในประวัติศาสตร์มาได้นั้น ทางผู้ใหญ่สรุปมาแล้วครับว่า ยกเลิกเงินสนับสนุนและเงินอัดฉีดทั้งหมด!!!

ไม่มีใครได้แล้วนะครับ รวมถึงปีต่อๆไป  ”ด้วยเหตุผลที่มีเหตุผลของท่าน” นักกีฬาเจ็ทสกีทีมชาติไทยทุกคนต่อจากนี้ไป (และอีกหลายประเภทกีฬา) จะเหนื่อยแค่ไหน จะตั้งใจทำเพื่อประเทศชาติกันสักแค่ไหน ก็ตัวใครตัวมันแล้วนะครับ

“ขอบคุณสำหรับทุนงบประมาณที่คาดว่าจะนำมาใช้พัฒนานักกีฬา มีหลักเกณฑ์ที่รอบคอบ จนสามารถยกเลิกกำลังใจที่นักกีฬาทุกคนตั้งใจทุ่มเทเพื่อประเทศชาติได้”

“ขอบคุณสำหรับการจัดงบประมาณที่ทำให้การพัฒนากีฬาของไทยที่จะไปได้ไกล กลับริบหรี่ลงทุกวัน…มันเรศจริงๆ!!!”

ทั้งนี้หลังจากที่เป็นประเด็นดราม่าในโลกโซเชียลและถูกพูดถึงในวงกว้างทางกองทุนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติเองก็ระบุว่าตามหลักเกณฑ์ของกองทุนฯ ที่จะสามารถอนุมัติเงินรางวัลได้ในกรณีนั้น จะต้องมีนักกีฬาเข้าร่วมการแข่งขัน 6 ประเทศ แต่ในอีเวนต์ของ “น้องออก้า” นครา ศิลาชัย ที่คว้าเหรียญทองมีเพียง 2 ประเทศ เข้าร่วม คือ ไทย กับ ทีมสโมสรในประเทศสหรัฐอเมริกา มีจำนวนทั้งหมด 6 ลำ เท่านั้น โดยคู่แข่งขันในรายการนี้ไม่ได้เป็นตัวทีมชาติสหรัฐอเมริกา แต่อย่างใด ทำให้ไม่เข้าหลักเกณฑ์การจ่ายเงินรางวัล

แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ยังต้องรอความชัดเจนจากกองทุนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ ที่จะออกมาแถลงข่าวให้ความกระจ่างในเรื่องนี้หรือไม่?

ทว่าล่าสุด ทางสมาคมเจ็ตสกีแห่งประเทศไทยเตรียมออกแถลงการณ์ เรื่อง “ดราม่าเงินรางวัลนักกีฬา” โดยระบุว่าพร้อมที่จะชี้แจงข้อเท็จจริง ในวันนี้ (จันทร์ที่ 4 กันยายน)

ทั้งนี้ตามหลักเกณฑ์ของกองทุนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ ระบุว่านักกีฬาไทยที่ชนะเลิศในชนิดกีฬาสากลที่มีแข่งในโอลิมปิกเกมส์, หรือรายการชิงแชมป์โลก เหรียญทอง จะได้รับเงินรางวัล 1.5 ล้านบาท ,เหรียญเงิน 1 ล้านบาท และ เหรียญทองแดง 4 แสนบาท