"สนามแข่งหางโจว 2022" ความสวยงามพร้อมเทคโนโลยี (ภาพ)

"สนามแข่งหางโจว 2022" ความสวยงามพร้อมเทคโนโลยี (ภาพ)

หนึ่งในองค์ประกอบสำคัญของมหกรรมกีฬาคือสนามแข่งขัน และในหางโจวเกมส์ จีนเจ้าภาพจัดเต็มกับเรื่องนี้อย่างเต็มที่ แล้วข้อมูลเบื้องต้นมีอะไรบ้างนั้น ติดตามได้ที่นี่
168026065802756 สนาม 37 ชนิดกีฬา

เพื่อให้สมศักดิ์ศรีในฐานะพี่ใหญ่ของเอเชีย จีนประกาศสร้างสนามใหม่ 14 แห่ง บวกกับบูรณะปรับปรุงของเดิมอีกกว่า 44 แห่ง เพื่อรองรับมหกรรมกีฬาครั้งนี้ โดยกระจายอยู่ในหางโจว มณฑลเจ้อเจียง และพื้นที่ใกล้เคียงอย่าง เฉาชิ่ง, หนิงป๋อ, จินหัว, เหวินโจว และ เต๋อชิง ซึ่งอยู่ภายใต้แกนของการแข่งขันที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม แต่ทันสมัย ไม่ฟุ่มเฟือย และมีเอกลักษณ์ของทวีปเอเชีย

ทั้ง 56 สนาม ใช้จัดการแข่งขัน 61 ประเภทจาก 37 ชนิดกีฬา โดยศูนย์กีฬาปีนผาหยางชานในเฉาชิ่ง คือสนามที่ก่อสร้างเสร็จเป็นแห่งสุดท้ายในเดือนมีนาคมปี 2022 และทุกสนามผ่านมาตรฐานรวมถึงมีการทดลองจัดการแข่งขันเรียบร้อยแล้ว

ขณะเดียวกัน ศูนย์ฝึกซ้อมทั้ง 31 แห่ง และหมู่บ้านนักกีฬาอีก 5 แห่งต่างพร้อมใช้งานทั้งเอเชียน เกมส์ และเอเชียน พาราเกมส์ เช่นกัน
1680260675334“ดอกบัวยักษ์” สนามหลัก หางโจว เกมส์

เมื่อพูดถึงสนามแข่ง ความสำคัญและสนามที่มีบทบาทมากที่สุดคือสนามหลักของการแข่งขัน และในเอเชียนเกมส์หนนี้คือ หางโจว โอลิมปิก สปอร์ตส์ เซ็นเตอร์ สเตเดียม หรือที่มีชื่อเล่นว่า “ดอกบัวยักษ์” ความจุ 80,000 ที่นั่ง ซึ่งสนามแห่งนี้จะใช้ในพิธีเปิดและพิธีปิดการแข่งขัน รวมทั้งจัดแข่งกรีฑาและฟุตบอลชายนัดชิงชนะเลิศ

สำหรับแรงบันดาลใจในการออกแบบสนามแห่งนี้มาจากเนื้อผ้าและวิธีการทอผ้าไหมโบราณ ซึ่งรูปแบบทางสถาปัตยกรรมสะท้อนภาพเกลียวคลื่นอันเชี่ยวกรากของแม่น้ำเฉียนถัง ส่วนหลังคาของสนามประกอบไปด้วยโครงสร้างแบบกลีบดอกไม้ใหญ่-เล็กรวมกว่า 55 กลีบ อันมีที่มาจากบัวพื้นเมืองของทะเลสาบตะวันตกหนึ่งในทิวทัศน์ที่งดงามและเป็นเอกลักษณ์ของเมืองหางโจว
1680260696173จัดเต็มทั้งดีไซน์และเทคโนโลยี

ในฐานะเมืองที่ผสมผสานวัฒนธรรมไปกับเทคโนโลยีได้อย่างลงตัว ทำให้สนามแข่งขันที่สร้างขึ้นใหม่มีทั้งความสวยงามแบบสมัยใหม่ ยั่งยืนต่อสิ่งแวดล้อม และไม่ขัดต่อภาพลักษณ์ของความเป็นเมืองอนุรักษ์ อย่างเช่นสนามดอกบัวยักษ์ที่เป็นภาพสะท้อนเมืองหางโจวได้อย่างครอบคลุม โดยใช้เหล็กเป็นส่วนประกอบน้อยกว่าสนามรังนกที่กรุงปักกิ่งถึง 67 เปอร์เซ็นต์

ขณะที่สนาม หางโจว อีสปอร์ตส์ เซ็นเตอร์ ก็มีการออกแบบให้เหมือนยานอวกาศโดยใช้แนวคิด “กระแสน้ำวนแห่งดวงดาว” เข้ากับชนิดกีฬาที่จัดการแข่งขันซึ่งเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา และไม่พลาดที่จะสร้างบรรยากาศในสนามแข่งอย่างเต็มรูปแบบด้วยระบบภาพและเสียงรอบทิศทางแบบ 360 องศา
1680260710941อีกสนามที่มีความโดดเด่นในเรื่องของดีไซน์ไม่แพ้กันคือ เฉียนถัง โรลเลอร์ สปอร์ตส์ เซ็นเตอร์ ที่ใช้แข่งโรลเลอร์สเก็ต และสเก็ตบอร์ด ซึ่งเมื่อมองลงมาจากด้านบนจะดูเหมือนรูปทรงของเลข 6 สองตัวเชื่อมกันหรือรูปลูกข่างหมุนคล้ายเกลียวลมที่เป็นเอกลักษณ์ของกีฬาโรลเลอร์สเก็ตนั่นเอง