จัดทีเดียวเป็นหนี้! "เอเธนส์เกมส์ 2004" บทเรียนของทุกชาติกับเจ้าภาพโอลิมปิก (ภาพ)

การแข่งขันกีฬาโอลิมปิก ฤดูร้อน ถือเป็นหนึ่งในมหกรรมกีฬาที่ยิ่งใหญ่ที่สุดแห่งมวลมนุษยชาติ ซึ่งที่ผ่านมามีทั้งประสบการณ์ที่ดีกับหลายเมืองใหญ่ ที่ใช้มหกรรมกีฬาระดับโลกนี้เป็นการโปรโมทประเทศ หรือพลิกฟื้นเศรษฐกิจภายในประเทศ

อย่างในกรณีของ โอลิมปิก ปี 1964 ที่ทำให้ ประเทศญี่ปุ่น ที่เพิ่งแพ้สงครามโลกพลิกกลับมาเป็นมหาอำนาจของโลกจนถึงเวลานี้ หรือแม้กระทั่ง โอลิมปิกปี 1992 ที่เมืองบาร์เซโลน่า ที่เป็นการพลิกฟื้นเศรษฐกิจของประเทศสเปน ให้กลับมาเฟื่องฟูอีกครั้ง

อย่างไรก็ตามท่ามกลางผลดีก็ย่อมมีผลเสียเหมือนกันกับหลายประเทศที่ได้รับสิทธิ์จัดการแข่งขันไม่ว่าจะเป็น เอเธนส์เกมส์ 2004 (ประเทศกรีซ), ปักกิ่งเกมส์ 2008 (ประเทศจีน) และ ริโอเกมส์ 2016 (ประเทศบราซิล) ที่ล้วนประสบปัญหาขาดทุนอย่างหนัก

gert
โดยในกรณีของ กรีซ ถือเป็นเคสที่ต้องนำไปปรับ และศึกษาเมื่อการแข่งขันในครั้งนั้นถึงขั้นทำให้ประเทศต้องเป็นหนี้ก้อนโต และพบกับปัญหาทางด้านการเงินอย่างหนัก หลังใช้งบในการก่อสร้างสนามบานปลายมากถึง 1,500 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ยังไม่รวมค่าการจัดการอีกมากมาย ทำให้เกิดหนี้ครัวเรือนจำนวนมหาศาล

นอกจากนี้หลังการแข่งขันจบลง สนามกีฬาที่ใช้แข่งขันก็ไม่สามารถนำไปก่อให้เกิดประโยชน์ต่อยอดได้อย่างที่ควรจะเป็น ทำให้มันถูกทิ้งให้มีสภาพรกร้าง เต็มไปด้วยรอยสนิม และวัชพืชที่ขึ้นปกคลุมไปทั่ว

ซึ่งเรื่องนี้ถือเป็นปัญหาระดับชาติที่กำลังจะก่อตัวมากขึ้นเรื่อยๆ สำหรับเจ้าภาพโอลิมปิก โดย แอนดรูว์ ซิมบาลิสต์ ศาสตราจารย์ด้านเศรษฐศาสตร์จาก Robert A. Woods Smith College ได้เขียนงานวิจัยหลายชิ้นเกี่ยวกับ เศรษฐศาสตร์ของ กีฬาโอลิมปิก

gert22
“ทุกวันนี้หากคุณอยากเป็นเจ้าภาพกีฬาโอลิมปิก คุณอาจต้องเตรียมสถานที่จัดการแข่งขันมากถึง 35-40 แห่งเลยทีเดียว ยิ่งไปกว่านั้นคุณต้องมีหมู่บ้านโอลิมปิกที่จะเป็นที่อยู่อาศัยของผู้คนจำนวนกว่า 18,000 คน รวมถึงคุณต้องมีสถานที่พักสำหรับสื่ออีกหลายพันเตียงอีกด้วย”

“แต่หลังจากใช้งานในการแข่งขันประมาณ 18 วัน รวมถึงหลังจากนั้นก็ใช้จัดการแข่งขันพาราลิมปิกเกมส์ ทุกอย่างถือเป็นอันจบกัน เรื่องนี้ต้องถามตัวเองก่อนว่าเมืองนั้นมีเหตุผลมากขนาดไหนที่ต้องมีสนามกีฬามากขนาดนั้นเลยหรือ” ศาสตราจารย์คนดัง เปิดใจกับ CNN Travel

gert33
ทำให้เจ้าภาพโอลิมปิกในอนาคตหลายชาติเริ่มมองเห็นถึงปัญหานี้อย่าง นางอนาสตาเซีย ปาลาเชย์ นายกรัฐมนตรีของรัฐควีนส์แลนด์ ที่ได้สิทธิ์เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขัน บริสเบน 2032 ได้ผุดแนวคิดโอลิมปิกยุคใหม่ ด้วยการที่จะมุ่งเน้นไปที่การสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกเพิ่มเติม และปรับโครงสร้างของสนามกีฬาที่มีอยู่ แทนที่จะเป็นการสร้างใหม่แล้วปล่อยทิ้งร้างหลังจบการแข่งขัน

นั่นทำให้เกิดแนวคิดโอลิมปิกยุคใหม่ ว่าหากการเสนอตัวจัดการเป็นเจ้าภาพกีฬาใหญ่ๆ แล้วดำเนินไปด้วยแผนงานเหมือนเดิม ทุกชาติก็คงจะประสบปัญหาเดียวกันต่อไปเหมือนเดิม ซึ่งแม้ว่าการท่องเที่ยวอาจเป็นปัจจัยที่ทำให้หลายเมืองพร้อมเสนอตัวจัดมหกรรมที่ยิ่งใหญ่ แต่ท้ายสุดทุกเมืองก็จะต้องหาทางจัดการกับสนามเหล่านั้นอยู่ดี